วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563

Recorded Diary 4

 

…………………… WELCOME ……………………

💬ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

   วันนี้อาจารย์พูดถึงเรื่อง Executive Functions (EF)          

Executive Functions (EF) คือ กระบวนการทำงานของสมองส่วนหน้า ซึ่งมีความสำคัญในการควบคุมอารมณ์ ความคิด การวางแผนและการแก้ไขปัญหา ซึ่งลูกจะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ จากความจำมาสู่การกระทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้น

ช่วงวัยที่เหมาะสมจะพัฒนา EF คือ ช่วง 3 – 6 ปี เพราะหากเป็นช่วงวัยเรียน วัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ก็พัฒนาได้ แต่จะได้ไม่มากเท่ากับเด็กปฐมวัย

Executive Functions (EF) ประกอบด้วย 9 ทักษะ ได้แก่

 1. ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory)

กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :

-การให้ลูกดื่มนมแม่ในช่วง 6 เดือน

-ให้ลูกทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ

-แสดงความรักด้วยการกอด หอม พูดคุยกับลูกบ่อยๆ เพื่อให้ลูกรู้สึกอบอุ่น

-เล่านิทาน อ่านหนังสือกับลูก

-ให้ลูกเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า เพื่อให้จดจำได้ดีขึ้น

 

2. ทักษะการยั้งคิด (Inhibitory Control)

คือ การควบคุมอารมณ์ตนเอง รู้ว่าสิ่งใดควรทำ – ไม่ควรทำ เช่น ไม่นำของเพื่อนมาเป็นของตนเอง เป็นต้น

กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :

-ของเล่นเสริมพัฒนาการที่ต้องใช้สมาธิ ใช้สมองในการวางแผน และคิดแก้ไขปัญหา

-ส่งเสริมด้านดนตรี
-พูดคุยกับลูกบ่อยๆ หากลูกมีความกังวลใจ ให้ลูกเล่าออกมาอย่าเก็บไว้ เพื่อช่วยระบายความรู้สึก
-สอนให้ลูกรู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง เช่น เวลารู้สึกโมโห ให้นับตัวเลข
1-10 หรือหายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ จนรู้สึกดีขึ้น ไม่หงุดหงิดโวยวาย หรือไปทำร้ายคนอื่น

3. ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility)

คือ ทักษะที่ช่วยให้ลูกรู้จักปรับตัว ยืดหยุ่น และรู้จักแก้ไขปัญหาได้ตามแต่ละสถานการณ์

กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :

-กิจกรรมด้านศิลปะ เช่น การวาดรูป ระบายสี การปั้น การพับ ตัด ปะ

-ฝึกให้ลูกทำของเล่นจากวัสดุเหลือใช้

-การต่อบล็อกเป็นรูปทรงต่าง ๆ

 4. ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus)

เป็นสิ่งสำคัญ เพราะการที่ลูกมีสมาธิ ไม่วอกแวก จะช่วยให้ลูกเรียนรู้ได้ดี

กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :

-การอ่านหนังสือ

-การฟังเพลง วาดรูป ระบายสี

-การเรียนรู้ผ่านการเล่น

-การต่อจิ๊กซอว์ / ต่อบล็อกรูปทรงต่างๆ

-การสวดมนต์ ไหว้พระก่อนนอน

5.การควบคุมอารมณ์ (Emotion Control)

ช่วยให้ลูกรู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดี ไม่โมโห หงุดหงิดง่าย

กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :

-การอ่านนิทานที่เกี่ยวกับลักษณะนิสัยที่ดี

-ให้ลูกได้เล่นร่วมกับผู้อื่น เพื่อรู้จักการแบ่งปัน อดทนรอคอย ไม่แซงคิว

-ให้ลูกช่วยงานบ้าน และช่วยเลือกเสื้อผ้าที่ไม่ใช้บริจาคสิ่งของไปให้เด็กคนอื่นๆ ที่ขาดแคลน

6. การวางแผนและการจัดการ (Planning and Organizing)

เป็นการฝึกให้ลูกรู้จักตั้งเป้าหมายและคิดวางแผนด้วยตนเอง

กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :

-สอนให้ลูกเรียนรู้เรื่องเวลา

-สอนให้ลูกรู้จักตั้งเป้าหมายง่าย ๆ เช่น เก็บออมเงินเพื่อซื้อของที่อยากได้ด้วยตนเอง

-ให้ลูกรับผิดชอบงานในบ้าน โดยให้เขาเลือกเองก็ได้ ลูกจะได้ทำอย่างมีความสุข

 7. การประเมินตนเอง (Self-Monitoring)

สอนให้ลูกรู้จักประเมินตนเอง และแก้ไขปรับปรุง ข้อนี้จะสอนต่อจากเรื่องการวางแผนก็ได้ โดยทำเป็นตารางงานบ้านให้ลูกไว้ งานชิ้นไหนที่ทำแล้วก็ให้ใส่เครื่องหมายถูก ถ้างานชิ้นไหนยังไม่ได้ทำ ก็ลองถามเขาว่างานชิ้นนี้เขายังไม่ทำเพราะเหตุใด เช่น เป้าหมายนั้นยากไป จะได้ช่วยกันแก้ไขให้ดีขึ้น

8. การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating)

เป็นการฝึกให้ลูกกล้าคิด กล้าทำอะไรใหม่ๆ

กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :

-เปิดโอกาสให้ลูกแสดงความคิดเห็น และเลือกทำในสิ่งที่ตนเองสนใจ

-เมื่อลูกวาดรูประบายสี ลองให้เขาเล่าผลงานของเขาว่าสิ่งๆ นั้นคืออะไร เขาจะเล่าด้วยความภูมิใจ

-พาลูกไปเล่นกับเด็กคนอื่นๆ บ้าง เพื่อให้มีสังคม และได้แสดงความคิดเห็นของตนเอง

9. มีความเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย (Goal-Directed Persistence)

ช่วยให้ลูกไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคง่ายๆ จะตั้งใจทำจนกว่าจะสำเร็จ

กิจกรรมที่ควรส่งเสริม ได้แก่ :

-กิจกรรมด้านดนตรี กีฬา และศิลปะ

-การต่อจิ๊กซอว์ ต่อบล็อก ของเล่นไม้ เกมตึกถล่ม

-หมากฮอส หมากรุก


💕💕💕💕💕💕💕💕💕💕💕💕

👉การประเมิน

ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์และได้ความรู้เพิ่มเติม

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้คำแนะนำและคำปรึกษาได้ดี

…………………… THANK YOU ……………………

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2563

Recorded Diary 3

 

…………………… WELCOME ……………………

💬ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

วันนี้อาจารย์นำตัวอย่างหน่วยข้าวของรุ่นพี่มาอธิบายและให้คำแนะนำแก่นักศึกษา และอาจารย์ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการเขียนแผนการเคลื่อนไหวและจังหวะ



💕💕💕💕💕💕💕💕💕💕💕💕

👉การประเมิน

ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์และได้ความรู้เพิ่มเติม

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้คำแนะนำและคำปรึกษาได้ดี

…………………… THANK YOU ……………………

วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2563

Recorded Diary 2

 

…………………… WELCOME ……………………

💬ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

            วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนที่ได้ไปสังเกตการณ์การสอนจับกลุ่มกันในแต่ละโรงเรียน และบอกว่าโรงเรียนของเรามีหน่วยการสอนอะไรบ้าง และทำ mind map กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะการเคลื่อนไหวเบื้องต้น  หมายถึง  การนำทักษะการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติของมนุษย์มาประกอบกับจังหวะหรือเสียงของดนตรี  เป็นการวางรากฐานการเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง เป็นการเสริมสร้างความเข็งแรง  ความคล่องตัวและความสัมพันธ์ระหว่างระบบประสาทและกล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

        การเคลื่อนไหวเบื้องต้น (Fundamental Movement or Basic Movement) แบ่งออกเป็น 2  ลักษณะ  คือ

        -  การเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่  (Non-Locomotor Movement)

        -  การเคลื่อนไหวที่เคลื่อนที่  (Locomotor  Movement)

1.  การเคลื่อนไหวอยู่กับที่  (Non-Locomotor Movement)

            หมายถึง  การเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ  ของร่างกายโดยที่ร่างกายไม่ได้เคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง  เช่น  การเหวี่ยงแขน  ขา  การหมุนแขน  ขา ลำตัว  การก้ม  เงย  การบิดลำตัว  การผลัก  ดึง  ดัน  ฯลฯ

            การก้มตัว  (Bending)  คือ  การงอพับข้อต่างๆ  ของร่างกาย  ที่จะทำให้ร่างกายส่วนบนเข้ามาใกล้ส่วนล่างของร่างกาย

            การยืด  หรือเหยียดตัว  (Streching)  คือ  การเคลื่อนไหวที่ตรงกันข้ามกับการก้มตัว โดยพยายามเหยียดทุกส่วนของร่างกายให้ได้มากที่สุด

            การบิดตัว  (Twisting)  คือ  การเคลื่อนไหวของร่างกาย  โดยการบิดลำตัวท่อนบนไปรอบๆ

            การหมุนตัว  (Turning)  คือ  การหมุนตัวไปรอบๆ  ร่างกาย  มากกว่าการบิดตัวโดยการหมุนรอบจุดใดจุดหนึ่ง

            การแกว่ง  หรือเหวี่ยง  (Swinging)  คือ  การเคลื่อนส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย แขน  ขา  ลำตัว  ให้เป็นรูปโค้ง  หรือแบบลูกตุ้มนาฬิกา

            การเอียง  (Swaying)  คือ  การพับลำตัวด้านข้างให้เป็นส่วนโค้งเข้าหาพื้น

            การดัน  (Pushing)  คือ  การเคลื่อนโดยการออกแรงกด  การดันมักเป็นการดันออกจากร่างกาย

            การดึง  (Pulling)  คือ  การเคลื่อนไหวที่ตรงกันข้ามกับการดัน  คือ  การออกแรงดึงเข้าหาร่างกาย  หรือดึงไปในในทิศทางใดทางหนึ่ง

            การโยกตัว  (Rocking)  คือ  การย้ายน้ำหนักจากส่วนหนึ่งของร่างกายไปยังอีกส่วนหนึ่งของร่างกาย  โดยส่วนทั้งสองจะต้องแตะพื้นคนละครั้งสลับกันไป

 2.  การเคลื่อนไหวที่เคลื่อนที่  (Locomotor  Movement)

            หมายถึง  การเคลื่อนไหวร่างกาย  โดยที่ร่างกายเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง  เช่น การเดิน  การวิ่ง  การกระโดด  การลื่นไถล  การกระโดดเขย่ง  การวิ่งสลับเท้า  และ  การควบม้า  ฯลฯ

            การเดิน  (Walking)  หมายถึง  การถ่ายน้ำหนักตัวจากเท้าหนึ่งไปยังอีกเท้าหนึ่ง  ในขณะเปลี่ยนน้ำหนักตัว  เท้าข้างใดข้างหนึ่งจะอยู่กับพื้น  และน้ำหนักของเท้าที่ลงสู่พื้นจะถ่ายจากส้นเท้าไปยังปลายเท้า  

            การวิ่ง  (Running)  หมายถึง  การก้าวเท้าสลับกันทีละข้าง  โดยการถีบเท้าส่งตัวขึ้นพ้นพื้น  งอเข่าสูง  ถ่ายน้ำหนักตัวจากเท้าหลังไปเท้าหน้า  ลงสู่พื้นด้วยปลายเท้าและในขณะถ่ายน้ำหนักตัวเท้าทั้งสองไม่อยู่บนพื้น

            การกระโดด  (Jumping)  หมายถึง  การสปริงตัวขึ้นจากพื้นแล้วลงสู่พื้นด้วยเท้าทั้งสองพร้อมๆกัน  

            การลื่นไถล  (Sliding)  หมายถึง  การเคลื่อนที่ไปทางด้านข้าง  โดยก้าวเท่าข้างใดข้างหนึ่งออกไปทางด้านข้าง  แล้วลากเท้าอีกข้างหนึ่งไปชิด  พร้อมกับเปลี่ยนน้ำหนักตัวมายังเท้าที่ลากเข้ามาชิด  

            การกระโดดเขย่ง  (Hopping)  หมายถึง  การสปริงตัวขึ้นจากพื้นด้วยเท้าข้างใดข้างหนึ่ง  แล้วลงสู่พื้นด้วยเท้าข้างเดิม  

            การก้าวกระโดดเขย่ง  (Step-hop)  หมายถึง  เป็นการรวมท่าการเดินกับท่าการกระโดดเขย่งเข้าด้วยกัน  เพื่อเคลื่นที่ไปข้างหน้าและข้างหลัง  

            การวิ่งสลับเท้า  (Skipping)  หมายถึง  การนำเอาท่างทางการวิ่งกับการกระโดดเขย่งมารวมกัน  โดยการสปริงเท้าทั้งสองขึ้นพ้นพื้นพร้อมกับดึงเท้าที่อยู่ข้างหลังเอาไปไว้ข้างหน้า  ลงสู่พื้นด้วยปลายเท้าทั้งสองพร้อมกัน  เท้าจะสลับกันนำตลอดการเคลื่อนไหว  ถ้าเคลื่อนไปข้างหน้าน้ำหนักตัวจะอยู่ที่เท้าหน้า  

            การควบม้า  (Galloping)  หมายถึง  การก้าวเท้าใดเท้าหนึ่งนำ  แล้วก้าวอีกเท้าหนึ่งเข้าไปชิดส้นเท้านำ  โดยน้ำหนักตัวจะอยู่ที่เท้านำ  เท้าไหนนำจะต้องนำตลอดและปลายเท้าไม่เปิด  เป็นการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า  

            การทำสอง  -  ก้าว  (ก้าว-ชิด-ก้าว)  (Two  -  Step)  หมายถึง  การก้าวเท้าไปข้างหน้า  ดึงอีกเท้าเข้าไปชิดเท้าแรก  ทิ้งน้ำหนักตัวไว้ที่เท้าหลัง  แล้วก้าวเท้าแรกไปข้างหน้า  น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าหน้าเสมอ  

            การทำซาติช  (Schottische)  หมายถึง  การนำเอาการเดินมารวมกับการกระโดดเขย่ง  โดยเดินไป  3  ก้าว  แล้วกระโดดเขย่งด้วยเท้าที่ก้าวเป็นครั้งที่  3  (ก้าว-ก้าว-ก้าว-กระโดเขย่ง)  

            การทำโพลก้า  (Polka)  หมายถึง  การนำเอาท่า  Two-Step  มารวมกับการกระโดดเขย่งลักษณะการเดินคือ  ก้าว-ชิด-ก้าว กระโดดเขย่ง  

            โด-ซิ-โด  (Do-Si-Do)  หมายถึง  การเดินสวนทางไปมากับคู่เป็นวงกลม  โดยเดินไปข้างหน้าไหล่ขวาเฉียดกัน  เดินถอยหลังไหล่ซ้ายเฉียดกัน 




💕💕💕💕💕💕💕💕💕💕💕💕

👉การประเมิน

ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายงานที่ต้องทำ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์และจดรายละเอียด

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้คำแนะนำเพิ่มเติมหลังที่จากที่ทำ mind map เรียบร้อยแล้ว

…………………… THANK YOU ……………………

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2563

Recorded Diary 1

 

…………………… WELCOME ……………………

💬ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

            วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาไปจัดเรียงBloogger โดยให้นักศึกษาไปค้นคว้า วิจัย บทความ ตัวอย่างการสอน และนำมาจัดเรียงและสรุปลงใน Bloogger ให้เรียบร้อย

💕💕💕💕💕💕💕💕💕💕💕💕

👉การประเมิน

ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้คำแนะนำที่ดี 

…………………… THANK YOU ……………………

 

สรุปตัวอย่างการสอน

 👉ปฐมวัย เล่านิทานสร้างความคิด

จัดประสบการณ์เล่านิทาน” โดยใช้เทคนิคจัดหาสื่อภาพที่หลากหลายกระตุ้นให้เด็ก ๆ คิดสร้างสรรค์เล่านิทานเป็นเรื่องต่อเนื่องกัน เพื่อนที่ฟังช่วยกันแต่งชื่อเรื่อง ผลที่ได้นอกจากการผ่านประเมินความคิดสร้างสรรค์แล้ว เด็กยังได้ฝึกความกล้าแสดงออก ฝึกการเป็นผู้ฟังที่ดี ผู้พูดที่ดี และยังได้ฝึกทักษะทางด้านภาษาไปพร้อม ๆ กันอีกด้วย

สรุปบทความ

👉ความคิดสร้างสรรค์ : ส่งเสริมอย่างไรในวัยอนุบาล                                                                    ความคิดสร้างสรรค์ในเด็กปฐมวัยจะถูกกระตุ้นให้แสดงออกมา เมื่อพวกเขาได้รับอนุญาตให้คิดต่างกันในหลายๆ ด้าน ได้ตัดสินใจ และแก้ปัญหาด้วยตนเองภายใต้สถานการณ์ใหม่ๆ ซึ่งพฤติกรรมสร้างสรรค์บางประการของเด็กอาจไม่ได้รับ การพิจารณา ผู้ที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญและยอมรับ คอยช่วยเหลือ สนับสนุน และส่งเสริมให้เด็ก ๆ พัฒนาความพอใจ ที่จะแสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่เด็กได้ทำในแต่ละวัน ด้วยความเข้าใจในพัฒนาการตามวัยของเด็ก ความสำเร็จที่แท้จริงในการพัฒนาสังคมและประเทศ มีเบื้องหลังมาจากการครูปฐมวัย ซึ่งนับได้ว่าเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญ ยิ่งในการพัฒนาเด็กอนุบาลร่วมกับพ่อแม่ ในการศึกษาหลักการจัดการศึกษา กำหนด และออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับ ความสามารถตามวัยของเด็ก โดยการจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่มีความหลากหลาย บูรณาการทั้งทักษะและสาระ การเรียนรู้ เพื่อให้สามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้อย่างเต็มศักยภาพ สำหรับบทความนี้ ผู้เขียนเสนอแนะแนวทางการจัด กิจกรรมง่ายๆ ที่สามารถส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยให้ทราบเพียงพอสังเขปเท่านั้น ทั้งนี้ ผู้ปกครอง ครู และ บุคลากรทางการศึกษาปฐมวัยสามารถพิจารณาแนวทางการจัดประสบการณ์ดังกล่าวเพื่อประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของ ตนเอง

สรุปวิจัย

👉การใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย                                                                          
สังคมเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวมนุษย์มากที่สุดจึงมีความสำคัญทั้งต่อตัวบุคคลเองและส่วนรวมสังคม ส่งผลต่อการพัฒนาการของเด็กในการปรับตัวในด้านต่าง ๆ สังคมในอดีตและปัจจุบันส่งผลกระทบต่อร่างกายจิตใจ รวมทั้งพฤติกรรมของเด็กช่วยให้เด็กรู้จักตนเองและค่าความต้องการของตนเองหรือแม้กระทั่งการปฏิบัติติตัวต่อไปในอนาคต การส่งเสริมลักษณะพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยนั้นต้องคำนึงถึงการอบรมดูแลสั่งสอนปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดี มีตัวแบบที่ดี การเสริมแรงโดยการให้รางวัลเปิดโอกาสให้เด็กได้รับรู้สิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวของเด็กเองตลอดจนสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กรวมทั้งยอมรับความแตกต่างของเด็กแต่ละคนในการเลี้ยงดูที่แตกต่างกันด้วย กิจกรรมศิลปะช่วยให้ผ่อนคลายความตึงเครียด ระบายความรู้สึก ทำให้อารมณ์ดีขึ้นศิลปะ ทำให้รู้สึกเข้าใจตนเองและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาการรับรู้ในเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งด้านสังคมฝึกสังเกตพัฒนาก็ด้านกล้ามเนื้อกับตาฝึกความละเอียดอ่อนช่วยสะท้อนความเป็นตัวตนและความรู้สึกนึกคิดทำให้เด็กมีจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ สร้างความเชื่อมั่นตลอดจนบำบัดความบกพร่องของจิตใจในอาการป่วยทางจิตอีกด้วย จุดประสงค์ในการใช้ศิลปะในการเรียนการสอนเพื่อที่จะทำให้เด็กได้เกิดการรับรู้และเรียนรู้ในสิ่งแวดล้อม สามารถถ่ายทอดถึงอารมณ์ความรู้สึกความคิดที่มีออกมาให้ผู้อื่นได้เข้าใจในสัญลักษณ์หรือรูปภาพที่เด็ก ออกมาเป็นศิลปะตลอดจนส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทุกด้าน


Recorded Diary 14

  ……………………  WELCOME  …………………… 💬 ความรู้ที่ได้รับในวันนี้ วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนวัตถุประสงค์ของกิจกรรมต่าง ๆ เขียนตามความรู้เดิมท...